เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
เมื่อปัญญามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี
ปัญญา
เมื่อวิชชามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี
วิชชา 31
เมื่ออภิญญามีอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกว่า เป็นผู้มี
อภิญญา 62
พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ เป็นอย่างนี้
รวมความว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง ไม่กลับมา เป็นผู้มั่นคง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย
ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู
แม้ธรรมทั้งหลายพระอรหันต์เหล่านั้นก็ไม่ปรารถนาแล้ว
พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์นั้น ใคร ๆ จึงนำไปด้วยศีลวัตรไม่ได้
เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ไม่กลับมา เป็นผู้มั่นคง
ปรมัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 5 จบ

เชิงอรรถ :
1 วิชชา 3 คือ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งวิเศษ (1) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัย
อยู่ในก่อน ระลึกชาติได้) (2) จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตาม
กรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย) (3) อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ ความตรัสรู้) (ที.ปา. 11/305/197)
2 อภิญญา 6 คือความรู้ยิ่งยวด (1) อิทธิวิธี ความรู้ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ (2) ทิพพโสต ญาณที่
ทำให้มีหูทิพย์ (3) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ (4) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณ
ที่ทำให้ระลึกชาติได้ (5) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ (6) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป 5
ข้อแรกเป็นโลกียะ (โลกียอภิญญา) ข้อท้ายเป็นโลกุตตระ (ที.สี.(แปล) 9/234-248/77-84)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :141 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
6. ชราสุตตนิทเทส1
อธิบายชราสูตร
ว่าด้วยชรา
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายชราสูตร ดังต่อไปนี้
[39] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายใน 100 ปี
แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น
ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้

ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ 2 ประการ
คำว่า ชีวิต ในคำว่า ชีวิตนี้น้อยนัก อธิบายว่า อายุ ความดำรงอยู่ ความ
ดำเนินไป ความให้ชีวิตดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความเป็นไป ความรักษา ความ
เป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์
อนึ่ง ชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ 2 ประการ คือ
1. ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย
2. ชีวิตเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย
ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร
คือ ในขณะจิตที่เป็นอดีต ชีวิตเป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่
ในขณะจิตที่เป็นอนาคต ชีวิตจักเป็นอยู่ ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้วในขณะ
จิตที่เป็นปัจจุบัน ชีวิตกำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/811-820/493-494

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :142 }